วันพุธที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2560

บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ

บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ

บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ

เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อหาได้ทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ประจวบเหมาะสมระบบติดต่อผู้ใช้ (GUI: Graphics User Interface) ที่ทำให้ผู้ใช้มีความสะดวกในการใช้งาน สร้างสรรค์งาน ทำให้บทบาทของสื่อฯ มีมากขึ้นตามลำดับ มีการนำสื่อมัลติมีเดีย มาประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ มากมาย เช่น การเรียนการสอน การถ่ายทอดความรู้ การนำเสนอข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
          จจุบันความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เอื้อให้นักออกแบบสื่อมัลติมีเดีย สามารถประยุกต์สื่อประเภทต่างๆ มาใช้ร่วมกันได้บนระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างสื่อเหล่านี้ ได้แก่ เสียง วีดิทัศน์ กราฟิก ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวต่างๆ การนำสื่อเหล่านี้มาใช้ร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เรารวมเรียกสื่อประเภทนี้ว่า มัลติมีเดีย (Multimedia) การพัฒนาระบบมัลติมีเดียมีความก้าวหน้าเป็นลำดับ จนถึงขั้นที่ผู้ใช้โปรแกรมสามารถโต้ตอบกับระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่างๆ กันได้ เช่น การใช้คีย์บอร์ด การใช้เม้าส์ การสัมผัสจอภาพ และการใช้เสียง เทคโนโลยีต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาขึ้นพร้อมๆ กับการพัฒนาฮาร์ดแวร์ เช่น การพัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูล การพัฒนาหน่วยความจำให้มีขนาดเล็กลง แต่มีความจุมากขึ้น และมีสมรรถนะในการเข้าถึงข้อมูลเร็วขึ้น นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี ด้านอุปกรณ์ต่อพ่วงสำคัญๆ เช่น เครื่องกราดภาพ (Scanner) เครื่องบันทึกภาพและเสียงระบบดิจิทัล เครื่องอ่านพิกัด (Digitizer) และอื่นๆ ซึ่งล้วนสนับสนุนการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้น่าสนใจ และมีประสิทธิภาพเพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้โปรแกรม แนวคิดใหม่ในการออกแบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง บางแนวคิดเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ขัดข้องที่ไม่สามารถนำเสนอด้วยสื่อรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ได้ บางแนวคิดเกิดขึ้นมาพร้อมกับการพัฒนาด้านศักยภาพของระบบคอมพิวเตอร์ เทคนิควิธีการออกแบบดังกล่าวทำให้เกิดคำศัพท์ที่มีคำนิยาม และความหมายที่หลากหลาย เช่น คำว่า มัลติมีเดีย มัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia) ไฮเปอร์มีเดีย (Hypermedia) และไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext)
ขั้นตอนในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย 
ขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย (สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้
1.ขั้นการเตรียม (Preparation)
2.ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction)
3.ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson)
4.ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard)
5.ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson)
6.ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials
7.ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise)
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน
         สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนนั้น คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดยผู้ออกแบบหรือกลุ่มผู้ผลิตโปรแกรมได้บูรณาการเอาข้อมูลรูปแบบต่างๆ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ และข้อความ เข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อการสื่อสารและการให้ประสบการณ์เพื่อการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพนั่นเองการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อ การศึกษานี้ มีข้อแตกต่างจากสื่อมัลติมีเดียที่ใช้เพื่อการนำเสนอข้อมูลหรือการประชา สัมพันธ์อยู่หลายด้าน บทบาทของสื่อมัลติมีเดียทั้ง ลักษณะจึงมีดังนี้
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้ 
          - 
เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้
          - 
ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน
          - 
มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา
  - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง
          - 
ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น
          - 
ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล
          - 
รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก
          - 
โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด
          - 
การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ
สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
          - 
เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ
          - 
ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่
          - 
มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
          - 
เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
          - 
ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
          - 
อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
          - 
เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
          - 
โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ
การนำเสนอ  หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่าการพรีเซ้นท์  (Presentation)  เป็นการบรรยาย  หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้  อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร  ตัวอย่างง่ายๆ  ได้แก่  การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน  การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก  เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา  นำภาพมาประกอบ  นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์  (หรือเขียนบนแผ่นใส)  และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วย
         
การผลิตและใช้สื่อมัลติมีเดียในโรงเรียน          
การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในโรงเรียนมีหลายรูปแบบ โดยทั่วไปจะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในด้านการเรียนการสอน และด้านบริหารจัดการ เช่น การเงิน งานพัสดุ งานกิจการนักเรียน งานห้องสมุด การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการ โรงเรียนควรจัดเตรียมระบบคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน จัดเตรียมโปรแกรม หรือจัดหาโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้และวางแผนการใช้ให้ชัดเจน การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนมีองค์ประกอบที่สำคัญก็คือสื่อมัลติมีเดียนั่นเอง สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอนช่วยส่งเสริมการใช้คอมพิวเตอร์ในการเรียนการสอนให้คุ้มค่ามากขึ้น

สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้
1. เป้าหมายคือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ              
2.ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่                                            
3. มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ
4. เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว
5. ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ
6. อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม
7. เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล
8. โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ
เอกสารจำเป็นสำหรับงานนำเสนอ
ในการนำเสนอ ควรมีการจัดทำเอกสารประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผู้บรรยายใช้ดูรูปประกอบและแจกให้ผู้เข้าชมการนำเสนอเป็นเอกสารประกอบ ซึ่งเอกสารที่ควรจัดเตรียมมีดังนี้
1. สไลด์ (Slide)
2. บันทึกย่อ
3. เอกสารประกอบคำบรรยาย
4. หัวข้อที่เป็นเค้าร่าง
สไลด์ (Slide)
 สไลด์ คือ ภาพนิ่งที่ใช้การนำเสนอเนื้อหาซึ่งนักเรียนสามารถเรียกดูและใช้ควบคุมทำภาพนิ่งโดยมีขั้นตอนดังนี้
 1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ
 2. คลิกที่ปุ่มมุมมองการนำเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
 3. จะปรากฏสไลด์ที่เลือกตามต้องการ
บันทึกย่อ (Note pane)

 บันทึกย่อ คือ ข้อความที่ได้สรุปประเด็นสำคัญไว้พูดิธิบายเนื้อหาภายในสไลด์แต่ละหน้า ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารไว้ดูในขณะบรรยายได้ โดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้
1. เลือกมุมมองปกติ (Normal)
2. เลือกสไลด์ที่ต้องการ
3. พิมพ์ข้อความลงในกรอบสีเหลี่ยมด้านล่างเพื่อทำการบันทึกย่อ

การสร้างเอกสารประกอบการบรรยาย
 สามารถสร้างเอกสารประกอบคำบรรยาย เพื่อแจกผู้ที่เข้ามารับฟังการบรรยายไว้จดเนื้อความสำคัญ โดยสามารถกำหนดให้มีเลขหน้า ข้อความภายในหัวกระดาษและท้ายกระดาษเหมือนกันบันทึกย่อได้อีกด้วย โดยทำตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่แท็บมุมมอง (View)
2. เลือกปุ่มคำสั่งแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย (Handout Master View)
3. เลือกปุ่มคำสั่ง ภาพนิ่งต่อหน้า (Slide Per Page)
4. จะปรากฎจำนวนสไลด์ตามที่เลือกบนเอกสารประคำบรรยาย
การพิมพ์เอกสารในการนำเสนอ
 เพื่อเป็นการประหยัดกระดาษและหมึกพิมพ์ ก่อนที่จะพิมพ์ภาพนิ่งหรือเอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับผู้ชมทั้งหมดของคุณ ให้พิจารณาการวางงานนำเสนอของคุณไว้ในตำแหน่งที่ตั้งที่ใช้ร่วมกันแทน จากนั้นก่อนที่จะมีการนำเสนอ ให้แจ้งให้ผู้ชมของคุณทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของงานนำเสนอนั้น ผู้ที่ต้องการเอกสารที่พิมพ์ก็สามารถพิมพ์ออกมาได้ ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการก็ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมา
1. การตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
ก่อนที่จะพิมพ์เอกสาร ควรจัดวางหน้ากระดาษโดยทำตามขั้นตอนดังนี้
- คลิกที่แท็บคำสั่งมุมมอง (View)
- คลิกปุ่มคำสั่งต้นแบบเอกสารประกอบคำบรรยาย (Handout Master)
- คลิกปุ่มคำสั่ง ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup)
- กำหนดคุณสมบัติในการตั้งค่าหน้ากระดาษดังนี้
2. การแสดงเอกสารก่อนการพิมพ์
 สามารถดูตัวอย่างหน้าจอได้เหมือนกับพิมพ์เอกสารออกทางเครื่องพิมพ์ทุกประการเพื่อตรวจดูความถูกต้องและแก้ไขข้อผิดพลาด โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกปุ่มแฟ้ม (File)
- คลิกปุ่มพิมพ์ (Print)
- จะปรากฎตัวอย่างก่อนพิมพ์อยู่ทางด้านขวามือของโปรแกรม
3. การพิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยาย
 การพิมพ์เอกสารประกอบคำบรรยายนั้น ก็เหมือนพิมพ์เอกสารในโปรแกรมต่างๆในชุด Office 2010 โดยมีขั้นตอนดังนี้
- คลิกปุ่มแฟ้ม (File)
- เลือกคำสั่งพิมพ์ (Print)
- จะปรากฎหน้าต่างพิมพ์ โดยแต่ละส่วนมีความหมาย
การเชื่อมโยงสไลด์ด้วยปุ่มปฏิบัติการ
 โดยปกติแล้วจะใช้การควบคุมการแสดงหน้าสไลด์ด้วยการคลิกเมาส์หรือกดปุ่ม PgUp หรือ PgDn แต่ในโปรแกรม Power Point สามารถใช้ปุ่มปฏิบัติการเชื่อมโยงการแสดงหน้าสไลด์ได้ดังนี้
1. คลิกที่แท็บแทรก (Insert)
2. คลิกปุ่มคำสั่งรูปร่าง (Shapes)
3. เลือกรูปแบบปุ่มปฏิบัติการที่ต้องการ (Action Buttons)
4. แแดรกเมาส์เพื่อสร้างปุ่มจะปรากฏกล่องโต้ตอบ Action Setting
5. คลิกแท็บคลิกเมาส์ (Mouse Click)
6. เลือกเชื่อมโยงหลายมิติไปที่ (Hyperlink to)
7. คลิกที่ลูกศรหัวลง (Drop Down)
8. เลือกตำแหน่งที่ต้องการ
9. คลิกปุ่มตกลง OK

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย

วิชา โปรแกรมมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอ

ความหมายของสื่อมัลติมีเดีย
   

           
            สื่อมัลติมีเดีย คือ การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับโปรแกรมซอฟต์แวร์ในการสื่อความหมายโดยการผสมผสาน สื่อหลายชนิด เช่น ข้อความ กราฟิก (Graphic) ภาพเคลื่อนไหว (Animation) เสียง (Sound)  และวีดิทัศน์ (Video) เป็นต้น และถ้าผู้ใช้สามารถที่จะควบคุมสื่อให้นำเสนอออกมาตามต้องการได้จะเรียกว่า สื่อมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์  (Interactive Multimedia)  การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้สามารถจะกระทำได้โดยผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ (Mouse) หรือตัวชี้ (Pointer) เป็นต้น การใช้สื่อมัลติมีเดียในลักษณะปฏิสัมพันธ์ก็เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถเรียน รู้หรือทำกิจกรรม รวมถึงดูสื่อต่างๆ ด้วยตนเองได้สื่อต่างๆ ที่นำมารวมไว้ในสื่อมัลติมีเดีย เช่น ภาพ เสียง วีดิทัศน์ จะช่วยให้เกิดความหลากหลายในการใช้คอมพิวเตอร์อันเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในแนวทางใหม่ที่ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์น่าสนใจ และเร้าความสนใจ เพิ่มความสนุกสนานในการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น


ความเป็นมาของสื่อมัลติมีเดีย 
          สื่อมัลติมีเดียเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในวงการธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะได้นำมาใช้ในการฝึกอบรมและให้ความบันเทิง ส่วนในวงการศึกษามัลติมีเดียได้นำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนในลักษณะแผ่นซีดี รอม หรืออาจใช้ในลักษณะห้องปฏิบัติการมัลติมีเดียโดยเฉพาะก็ได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า มัลติมีเดียจะกลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญทางการศึกษาในอนาคต ทั้งนี้เพราะว่ามัลติมีเดียสามารถที่จะนำเสนอได้ทั้งเสียง ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว ดนตรี กราฟิก ภาพถ่ายวัสดุตีพิมพ์ ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ ประกอบกับสามารถที่จะจำลองภาพของการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ ได้ด้วยตนเองแบบเชิงรุก(Active Learining)

          สื่อมัลติมีเดียเริ่มต้นในราว ๆ ต้นปี พ.ศ. 2534 พร้อมๆ กับการใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0 ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้สำหรับเครื่องพีซี (PC) และเป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่า กราฟิกยูซเซอร์อิเทอร์เฟท (Graphic User Interface) หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า GUIสำหรับ GUI เป็นอินเทอร์เฟทที่สามารถแสดงได้ทั้งข้อความ (Text) และกราฟิก (Graphic)ซึ่งง่ายต่อการใช้งานต่อมาในราว ๆ ต้นปี พ.ศ.2535 บริษัทไมโครซอฟต์ด้พัฒนาโปรแกรมมัลติมีเดียเวอร์ชั่น 1.0 ที่ใช้ร่วมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 3.0 ทำให้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในเรื่องของภาพและเสียง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของมาตรฐานมัลติมีเดียที่เรียกว่า มาตรฐานเอ็มพีซี (MPC : Multimedia Personal Computer) ซึ่งมาตรฐานนี้จะเป็นสิ่งกำหนดระบบพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับมัลติมีเดียวที่ เล่นบนระบบ ปฏิบัติการวินโดวส์

          การเริ่มนำเอาวินโดวส์ 3.1 เข้ามาแทนวินโดวส์ 3.0 ในราว ๆ ต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.2536 ทำให้การใช้มัลติมีเดียกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมีศักยภาพในการเล่นไฟล์เสียง (Wave) ไฟล์มีดี (MIDIไฟล์ภาพเคลื่อนไหว (Animation) และภาพยนตร์จากแผ่นซีดีรอม (CD-ROM) จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของมัลติมีเดียที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีจนถึง ปัจจุบัน

ประวัติส่วนตัว


ประวัตส่วนตัวของ สุดารัตน์ ฟอมไธสง
เกิดเมื่อ วันที่14 เดือน มกราคม พ.ศ. 2543
ชื่อเล่น เมย์

อาศัยอยู่ที่ 47 หมู่1 ต.กุดจอก อ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา 30120
กำลังศึกษาอยู่ที่ วิทยาลัยเทคโนโลยีบัวใหญ่
ระดับ ปวช.2

หน่วยที่ 9 การใส่ลูกเล่นให้กับหน้าสไลด์

บทที่9 การใส่ลูกเล่นให้กับหน้าสไลด์

หน่วยที่ 9 การใส่ลูกเล่นให้กับหน้าสไลด์

รูปแบบในการใส่ลูกเล่นในงานนำเสนอ

 นำเสนอแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

 จะเป็นการสร้างความเคลื่อนไหวให้กับหน้าสไลด์ที่กำลังแสดงและจบลง
 โดยมีขั้นตอนในการสร้างดังนี้


- เลือกสไลด์ที่ต้องการลูกเล่น

- คลิกแท็บการเปลี่ยน (Transitions)
- เลือกรูปแบบการเปลี่ยนสไลด์
- เลือกเสียง (Sound) ประกอบให้กับสไลด์
- ระยะเวลาการเล่น















2. การใส่ลูกเล่นให้กับวัตถุภายในสไลด์
 จะเป็นการสร้างการเคลื่อนไหวให้กับองค์ประกอบต่างๆ ที่อยู่ภายในสไลด์โดยแบ่งออกเป็น
 2 รูปแบบ คือ
 1. การใส่ลูกเล่นอย่างง่าย
 วิธีเหมาะสำหรับมือถือใหม่ที่พึ่งหัดใช้โปรแกรมเพราะโปรแกรมจะมีรูปแบบสำเร็จรูปไว้ให้
เลือกใช้งานได้ตามความพอใจ ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็วที่สุด
- คลิกเลือกวัตถุที่ต้องการใส่ลูกเล่น
- คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว
- เลือกรูปแบบที่ต้องการ












2. การใส่ลูกเล่นแบบกำหนดเอง
 เป็นการใส่ลูกเล่นให้มีความโดดเด่นกว่าลูกเล่นที่โปรแกรมได้กำหนดให้ ทำให้กำหนดได้โดย
ไม่ต้องซ้ำแบบใคร โดยมีขั้นตอนในการใส่ดังนี้
- เลือกวัตถุที่ต้องการ
- คลิกที่แท็ปภาพเคลื่อนไหว (Animation)
- เลือกเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation)
- เลือกลูกเล่นให้กับวัตถุ
- กำหนดความเร็ว

โดยในโปรแกรมได้แบ่งลูกเล่นต่างๆออกเป็นหมวดหมู่ดังนี้
มีเอฟเฟ็กต์ภาพเคลื่อนไหวอยู่สี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่
เอฟเฟ็กต์ เข้า จะทำให้วัตถุค่อยๆ ปรากฏในโฟกัส หรือลอยเข้ามาจากขอบด้านใดด้านหนึ่งของ
สไลด์ หรือเด้งเข้ามาก็ได้เอฟเฟ็กต์ ออก จะรวมถึงการทำให้วัตถุลอยออกไปจากสไลด์ 
หายไปจากมุมมอง หรือหมุนตัวออกไปจากสไลด์เอฟเฟ็กต์ เน้น จะทำให้วัตถุลดหรือเพิ่มขนาด
 เปลี่ยนสี หรือหมุนรอบตัวเอง
















การกำหนดลูกเล่นหลายแบบให้กับวัตถุชิ้นเดียว
ในPowerPoint 2010 และรุ่นที่ใหม่ กว่า คุณสามารถใช้ลักษณะพิเศษภาพเคลื่อนไหว 
(ภาพเคลื่อนไหว) กับข้อความ รูปภาพ รูปร่าง กราฟิก Smartart และ อื่น ๆ 
เพื่อให้พวกเขาเล่นในการนำเสนอภาพนิ่งของคุณ สร้างงานนำเสนอภาพนิ่งที่ animates
 คะแนนแสดงหัวข้อย่อยหรือแม้แต่ผลิตเครดิต


การกำหนดลำดับการแสดงลูกเล่นภายในสไลด์

 สามารถกำหนดลำดับการแสดงข้อมูลของลูกเล่นที่กำหนดไว้ภายในสไลด์ได้ดังนี้

- คลิกเลือกรายการที่ต้องการเปลี่ยนแปลง
- คลิกเมาส์เลือกสลับตำแหน่งที่ต้องการ
- รายการภาพเคลื่อนไหวจะถูกสลับตำแหน่ง

การยกเลิกลูกเล่นภายในสไลด์
 หากลูกเล่นที่ได้กำหนดไว้ยังไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สามารถเลิกหรือเปลี่ยนได้ดังนี้
 - คลิกรายการที่ต้องการยกเลิก
 - จะปรากฏลูกศรหัวลง (Drop Down) คลิกที่ลูกศร
 - คลิกเลือกเอาออก (Remove)

บทที่8 การแทรกตาราง กราฟ และแผนผัง

บทที่8 การแทรกตาราง กราฟ และแผนผัง

หน่วยที่8 การแทรกตาราง กราฟ และแผนผัง

การสร้างตาราง

โดยปกติแล้วหากข้อมูลที่นำเสนอบนสไลด์ที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากและ
จำเป็นที่จะต้องจัดวางตำแหน่งเป็นลักษณะคอลัมน์มักจะนิยมใช้เทคนิคของตาราง

เข้ามาช่วยในการจัดตำแหน่งข้อมูล

1. คลิกที่เมนู Insert 
2. เลือกปุ่มคำสั่งตาราง
3. แดรกเมาส์ขนาดตามที่ต้องการ
4. จะได้ตารางตามจำนวนที่ต้องการ

การตกแต่งตาราง






















การตกแต่งตาราง















กราฟ
  การนำเสนอข้อมูลลงในรูปแบบกราฟส่วนใหญ่จะใช้ในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบข้อมูล 
เพราะสามารถนำสื่อความหมายได้ชัดเจน โดยสามารถเลือกกราฟชนิดต่างๆ 
ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้

การสร้างกราฟ
       คุณสามารถนำข้อมูลตัวเลขที่ต้องการเปรียบเทียบหรือแสดงความสัมพันธ์ มาประกอบงาน
นำเสนอใน PowerPoint ด้วยการสร้างเป็นกราฟหรือแผนภูมิแบบต่างๆ ได้ตามวิธีการดังนี้

1. เปิดโปรแกรม PowerPoint เลือกเมนู Insert > Chart 2. จะปรากฏรูปแผนภูมิ และตาราง
สำหรับป้อนข้อมูล ให้พิมพ์ค่าตัวเลขลงในตารางดังกล่าว
2. หากต้องการเปลี่ยนแผนภูมิเป็นรูปแบบอื่น เช่น แบบ Line, Pie, Area ให้คลิกที่เมนู
 Chart > Chart Type เลือกรูปแบบแผนภูมิที่ต้องการ แล้วคลิก OK





























การแก้ไขข้อมูในกราฟ

เลือกแผนภูมิที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง

ภายใต้ เครื่องมือแผนภูมิ บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ข้อมูล ให้คลิก แก้ไขข้อมูล

Microsoft Office PowerPoint จะเปิดหน้าต่างที่แยก และจะแสดงแผ่นงานที่คุณต้อง
การแก้ไข

เมื่อต้องการแก้ไขเนื้อหาของชื่อเรื่องหรือข้อมูลในเซลล์ ในแผ่นงาน Excel ให้คลิกเซลล์ที่มีชื่อ
เรื่องหรือข้อมูลที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วพิมพ์ข้อมูลใหม่

ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

ถ้าแผนภูมิมีการเชื่อมโยง ให้บันทึกแผ่นงานแล้ว ปรับปรุงแผนภูมิใน PowerPoint

ถ้าแผนภูมินั้นถูกฝัง ให้ไปยังขั้นตอนที่ 5 PowerPoint จะบันทึกแผนภูมิฝังตัวโดยอัตโนมัติ
 บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก จบการทำงาน

ผังองค์กร
ผังองค์กร คือ แผนผังที่แสดงรายชื่อและตำแหน่งของบุคลภายในองค์กร ซึ่งสามารถสร้าขึ้นได้
อย่างรวดเร็วโดยใช้ Smart Art ซึ่งโปรแกรมมีผังองค์กรในรูปแบบต่างๆให้เลือกใช้งาน

การสร้างผังองค์กร
1. คลิกที่แท็บแทรก
2. คลิกที่ปุ่มคำสั่ง Smart Art
3. เลือกคำสั่งลำดับชั้น
4. เลือกรูปแบบที่ต้องการ
5. คลิกที่ปุ่ม OK

การเพิ่มตำแหน่งแผนผังองค์กร
สามารถเพิ่มตำแหน่งในผังองค์กรได้ ดังนี้
1. คลิกที่ผังองค์กร
2. คลิกที่แท็บออกแบบ (Design)
3. เลือกปุ่มคำสั่งเพิ่มรูปร่าง (Add Shape)
4. เลือกตำแหน่งที่ต้องการเพิ่ม (Add Shape After)
การใส่รูปเล่มในการนำเสนอข้อมูล จะช่วยให้ข้อมูลนั้นดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
โดยสามารถแทรกวัตถุ หรือสื่อมัลติเดียลงไปในสไลด์ได้

หน่วยที่7 การแทรกเสียงและภาพยนต์

บทที่7 การแทรกเสียงและภาพยนต์

หน่วยที่7 การแทรกเสียงและภาพยนต์


     เสียงที่นำมาใส่ในสไลด์อาจอยู่ในรูปของไฟล์ อาจเป็นดนตรี เพลง เสียงที่บันทึกไว้เองหรือจะ
ใช้ดนตรี จากแผ่นซีดีเพลงมาใส่ในสไลด์ก็ได้ เมื่อนำมาใส่ในสไลด์จะเห็นเป็นรูปลำโพง
ซึ่งสามารถจะกำหนด ให้เล่นเมื่อเริ่ม ฉายสไลด์ หรือเมื่อคลิกเมาส์ขณะฉายสไลด์ก็ได้
โดยมีวิธีการดังนี้

1.เลือก Insert (แทรก) >> Movies and Sounds (ภาพยนตร์และเสียง) >>
Sound from Clip Organizer (เสียงจาก Clip Organizer)
2.คลิกเลือกเสียง
3.คลิกเพื่อให้เล่นทันทีที่ฉายสไลด์
คลิกเพื่อให้เล่นเมื่อคลิกที่ไอคอนลำโพงเท่านั้น

4.ดับเบิลคลิกเพื่อลองฟังเสียง (ถ้าจะลบให้คลิกแล้วกด Delete)























การปรับแต่งเสียงประกอบสไลด์
 ในการสำเสนองาน บางครั้งไม่ต้องให้แสดงไอคอนรูปลำโพง และอยากให้มีการเล่นซ้ำหลังจาก
เล่นจบ สามารถทำได้ โดยจะต้องทำความรู้จักกับปุ่มคำสั่งต่างๆเสียก่อน
1. คลิกที่ไอคอนรูปภาพ
2. คลิกที่แท๊บการเล่น (Playback)
3. จาปรากฎแถบครื่องมือในการปรับแต่งเสียง






















การกำหนดเวลาเล่นเสียงประกอบสไลด์

เมื่อต้องการเล่นเสียงซ้ำจนกว่าคุณจะหยุดเสียงนั้น หรือเมื่อต้องการเล่นเสียงในระยะเวลาของ
งานนำเสนอ คุณจะต้องระบุตัวเลือกการหยุด หรือตั้งค่าให้มีการเล่นเสียงอย่างต่อเนื่อง
ถ้าแฟ้มเสียงมีความยาวไม่เพียงพอสำหรับการเล่นอย่างต่อเนื่องในระหว่างการนำเสนอ 
คุณสามารถตั้งค่าเสียงให้วนรอบหรือเล่นซ้ำได้ ถ้าคุณไม่ได้ระบุว่าเมื่อไรควรหยุดเล่นเสียง 
การเล่นเสียงจะหยุดลงเมื่อคุณคลิกเมาส์ครั้งต่อไป

ให้เพิ่มเสียง ถ้าคุณยังไม่ได้ทำการเพิ่มเสียง
ในมุมมอง 'ปกติ' ให้คลิกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มเสียง
บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม มีเดียคลิป ให้คลิกลูกศรภายใต้ เสียง แล้วให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ต่อไปนี้








คลิก เสียงจากแฟ้ม ระบุตำแหน่งโฟลเดอร์ที่มีแฟ้ม แล้วคลิกสองครั้งที่แฟ้มที่คุณต้องการเพิ่มให้กับภาพนิ่ง

คลิก เสียงจาก Clip Organizer แล้วค้นหาคลิปที่คุณต้องการในบานหน้าต่างงาน ภาพตัดปะ
 แล้วคลิกเพื่อเพิ่มลงในภาพนิ่ง

เมื่อมีข้อความแสดงขึ้น ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้

เมื่อต้องการเล่นเสียงโดยอัตโนมัติในเวลาที่คุณไปที่ภาพนิ่ง ให้คลิก อัตโนมัติ

เมื่อต้องการให้เล่นเสียงเฉพาะเมื่อคุณคลิกไอคอนเสียงเท่านั้น ให้คลิก เมื่อคลิก

เมื่อต้องการทำเสียงซ้ำอย่างต่อเนื่องจนกว่าคุณจะสั่งหยุดด้วยการคลิกเมาส์ ให้คลิกเสียง จากนั้น
ภายใต้ เครื่องมือเสียงให้คลิกแท็บ ตัวเลือก และในกลุ่ม ตัวเลือกเสียง ให้เลือกกล่องกาเครื่อง
หมาย วนรอบจนกว่าจะสั่งหยุด












เมื่อต้องการปรับการตั้งค่าสำหรับเวลาที่แฟ้มเสียงหยุด บนแท็บ ภาพเคลื่อนไหว ในกลุ่ม
 ภาพเคลื่อนไหว ให้คลิก การเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง

การบันทึกเสียง


















เมื่อคุณบันทึกคำบรรยาย ให้คุณเรียกใช้งานนำเสนอและบันทึกลงในภาพนิ่งแต่ละภาพ
 คุณสามารถหยุดชั่วขณะและดำเนินการบันทึกต่อได้ทุกเวลา

ตรวจสอบให้แน่ใจได้จัดเตรียมไมโครโฟนแล้วและอยู่ในสภาพที่สามารถทำงานได้ก่อนการบันทึก
การนำเสนอภาพนิ่งของคุณ
   บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม ตั้งค่า ให้คลิก การบันทึกการนำเสนอภาพนิ่ง
เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
เริ่มการบันทึกตั้งแต่ต้น
เริ่มการบันทึกจากภาพนิ่งปัจจุบัน
ในกล่องโต้ตอบ การบันทึกการนำเสนอภาพนิ่ง ให้เลือกกล่องกาเครื่องหมาย คำบรรยายและตัวชี้
แบบเลเซอร์ และเลือกหรือยกเลิกการเลือกกล่องกาเครื่องหมาย การกำหนดเวลาภาพนิ่งและภาพ
เคลื่อนไหว ตามความเหมาะสม

คลิก เริ่มการบันทึก

เคล็ดลับ เมื่อต้องการหยุดคำบรรยายชั่วขณะ ใน เมนูทางลัดกำลังบันทึก ให้คลิก หยุดชั่วขณะ 
เมื่อต้องการดำเนินคำบรรยายต่อ ให้คลิก ดำเนินการบันทึกต่อ

เมื่อต้องการสิ้นสุดการบันทึกการนำเสนอภาพนิ่งของคุณ ให้คลิกขวาที่ภาพนิ่ง แล้วคลิก 
สิ้นสุดการนำเสนอ

การกำหนดเวลาการนำเสนอภาพนิ่งที่บันทึกไว้จะได้รับการบันทึกไว้โดยอัตโนมัติ และการนำเสนอ
ภาพนิ่งจะปรากฏในมุมมองตัวเรียงลำดับภาพนิ่งโดยมีกำหนดเวลาแสดงไว้ที่ด้านล่างของแต่ละ
ภาพนิ่ง
ในมุมมอง 'ปกติ' บนภาพนิ่ง ให้คลิกที่ไอคอนเสียง 

บน Ribbon ภายใต้ เครื่องมือเสียง บนแท็บ การเล่น ในกลุ่ม แสดงตัวอย่าง ให้คลิก เล่น

ในมุมมองปกติ ให้คลิกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มข้อคิดเห็น

บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม สื่อ ให้คลิกลูกศรใต้ เสียง แล้วคลิก บันทึกเสียง

เมื่อต้องการบันทึกเสียงข้อคิดเห็น ให้คลิก บันทึก แล้วเริ่มการพูด

เมื่อคุณบันทึกเสียงเสร็จสิ้น ให้คลิก หยุด

ในกล่อง ชื่อ ให้พิมพ์ชื่อสำหรับเสียงนั้น แล้วคลิก ตกลง

การแทรกวีดีโอลงในสไลด์
เราได้เรียนรู้การนำไฟล์วิดีโอเข้าไปใช้ใน Power point 2010แล้ว คราวนี้มาดูวิธีการใน
 PowerPoint 2010 กันบ้าง ซึ่งจะคล้ายกันแต่ตะมีรายละเอียดที่การสั่งควบคุมเล็กน้อยดังนี้

1.ทำการ insert movie

2.ดับเบิ้ลคลิกที่วิดีโอในแผ่นสไลด์จะเกิดเครื่องมือ Video Tools


บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ

บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ บทที่ 10 การเตรียมตัวก่อนการนำเสนอ เนื่องจากประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดีย ที่สามารนำเสนอเนื้อห...